หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม
1.หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัย
ยิ่งอุตสาหกรรมพัฒนามากขึ้น
ความปลอดภัยก็ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นตาม
งานหลายงานมีความเสี่ยงเกินกว่าจะให้มนุษย์ดำเนินการหรืออยู่ในจุดที่คนทั่วไปยากจะเข้าถึง
ด้วยเหตุผลเหล่านั้นทำให้หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัยโรงงานเข้ามามีบทบาท เช่น
ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
ด้วยอินฟาเรดหรืออุปกรณ์ตรวจจับอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้ารั่วไหล
ตรวจสอบปล่องควันหรือจุดที่อยู่สูง
ทำให้ไม่ต้องมีการปิดโรงงานทั้งโรงเพื่อซ่อมบำรุง
ตรวจสอบวัสดุในโรงงาน
เช่น หุ่นยนต์ตรวจสอบความหนาของถังสารเคมี
ซึ่งหุ่นยนต์ทั้งหมดก็มีตั้งแต่ทำงานแบบอัตโนมัติ
ไปจนถึงทำงานโดยมีคนควบคุมอยู่เบื้องหลัง
2.หุ่นยนต์อเนกประสงค์
หุ่นยนต์อเนกประสงค์ในโรงงานโดยส่วนมากจะถูกพัฒนามาเป็น
“แขน” หุ่นยนต์เป็นหลัก
ทั้งเพื่อหยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่นแล้ว
ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำงานอื่นๆ เช่น การประกอบชิ้นงานละเอียด
งานตรวจสอบต่างๆ
2.1 หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้กับโมดูลสายพานลำเลียง
หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้สามารถติดตั้งโมดูลสำหรับปฏิบัติการได้หลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงหุ่นยนต์แขนกลด้วยเช่นกัน สำหรับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ซึ่งติดตั้งด้วยระบบสายพานลำเลียงจะสามารถขนถ่ายสินค้าและเปลี่ยนถ่ายสลับสายการขนส่งระหว่างสายพานได้อัตโนมัติด้วยความความแม่นยำ เหมาะสำหรับการขนย้ายสินค้าที่ได้รับการบรรจุหรืออยู่ในภาชนะที่มีความมั่นคงแล้วเป็นหลัก
2.2 หุ่นยนต์อเนกประสงค์เพื่องานบำรุงรักษาสายส่ง
ในการตรวจสายส่งประจำปีได้พบปัญหาอุปกรณ์
Vibration
Damper สำหรับสาย Overhead Ground Wire (OHGW) หรือสายล่อฟ้า เลื่อนจากจุดติดตั้งปกติ ซึ่ง Vibration Damper นั้นมีหน้าที่ลดการสั่นในสายเนื่องจากแรงลม หากไม่ทำการแก้ไข Vibration
Damper ที่หลุดเลื่อน แรงสั่นในสายเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้สาย OHGW
ขาด
หุ่นยนต์อเนกประสงค์
ช่วยให้ระบบส่งจ่ายไฟฟ้ามีความมั่นคงมากขึ้น
สามารถส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าสู่ผู้ใช้ไฟได้อย่างต่อเนื่อง
ลดผลกระทบจากการดับไฟฟ้าในการทำงาน อาทิ โรงพยาบาล
ภาคธุรกิจที่ต้องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องเสี่ยงภัยอันตราย
ไม่ต้องวิตกกังวลที่ต้องทำงานบนสายส่งซึ่งสูงเสียดฟ้า
Comments
Post a Comment